บทความ-มุมมองธัญญา
ข้อเขียน หรือบทความในบล็อกนี้เผยแพร่เพื่อนำเสนอแนวคิดมุมมองเพื่อการพัฒนาสังคมส่วนรวมเป็นสำคัญ ไม่สงวนลิขสิทธิ์หากจะมีผู้สนใจนำไปใช้ประโยชน์
จำนวนการดูหน้าเว็บรวม
วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
เรือประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติของหนู
เด็กๆ KG.1 ทำเรือประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติ ฝึกทักษะการเรียนรู้-ทักษะการทำงานร่วมกัน-ลงมือทำงานด้วยตนเองอย่างเป็นขั้นตอนจนสำเร็จ-เกิดความภาคภูมิใจ-ฝึกทักษะการคิดสร้างสรรค์
วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556
หมอประเวศชี้นวัตกรรมพัฒนาสังคมเข้มแข็ง
ตาเฮรอซะ=ทำประโยชน์แก่ผู้อื่น
เพื่อสังคมดี
ผมอ่านทรรศนะของ
ท่านศาสตราจารย์ นพ.ประเวศ วะสี ราษฏรอาวุโสและนักวิชาการด้านสาธารณสุขและการศึกษา
เรื่อง”นวัตกรรมทางสังคมกับการพัฒนาประเทศ”
ซึ่งสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)จัดขึ้น แล้ว
ท่าน ศ.นพ.ประเวศ
วะสี ตั้งคำถามที่ชวนให้น่าขบคิดว่า “ทำไมเราพัฒนาเศรษฐกิจกันมา 50ปี
ผู้ใช้แรงงาน 38ล้านคนยังมีชีวิตที่ย่ำแย่ และ
“ไทย”ยังคงเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำมากที่สุดในเอเชีย?”
ในมุมมองของผมประเด็นเรื่อง
“ความเหลื่อมล้ำในสังคม”และ “คุณภาพชีวิตที่ย่ำแย่”ของแรงงาน และผู้คนในชนบท
โดยเฉพาะของคนชายขอบของกลุ่มชาติพันธุ์นั้น
เปรียบเหมือนหนามแหลมที่ทิ่มแทงใจผมตลอดมานับตั้งแต่เริ่มสนใจในความเป็นไปของเศรษฐกิจและสังคมไทย
ประเทศของเรามีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
มาตั้งแต่ปี2501 ถึงปัจจุบันเป็นฉบับที่ 11แล้ว เราใช้เวลามากว่า 55ปีในการพัฒนา แต่การลดช่องว่างระหว่างชุมชนเมืองและชนบท
ก็ยังห่างกันอยู่ ไม่สามารถจะขจัดความเหลื่อมล้ำ และผดุงความเป็นธรรม
ความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นได้อย่างที่ควรจะเป็น
ท่านศ.นพ.ประเวศ วะสี มองว่าเป็นเพราะโครงสร้างในสังคมไทย ที่เป็น “แท่งอำนาจในแนวดิ่ง” และ สภาพ“สังคมเดี่ยว”แบบตัวใครตัวมัน มีความเป็นปัจเจกชนนิยมมากเกินไป การใช้อำนาจและสร้างกฎเกณฑ์ เงื่อนไขที่ประชาชนเข้าร่วมได้ยาก มีการส่งเสริมการเรียนรู้น้อย ผู้มีอำนาจไม่ยอมเรียนรู้ ไม่ยอมรับความคิดเห็นต่างๆของประชาชน
สิ่งเหล่านี้เป็นเหตุปัจจัยให้สังคมอ่อนแอ ขาดการมีส่วนร่วม
ร่วมคิดร่วมทำร่วมแก้ปัญหา เป็นเหตุให้เกิดความสำเร็จน้อย ความ
รวยกระจุก
ความจนกระจาย คุณธรรมด้อยคุณค่า ชีวิตขาดความสุข
จิตใจไม่พัฒนา และทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย
การลงพื้นที่ออกปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อฝึกหัดคุณธรรมความดีของคณะฆราวาสผู้บำเพ็ญประโยชน์ รุ่น 7 โดยการใช้ชีวิตและทำกิจกรรมร่วมกันกับชาวบ้านกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่บ้านห้วยคลุม วัดแม่พระฟาติมา อ.สวนผึ้ง แบบคนในครอบครัวเดียวกัน จึงออกรสชาติมากกว่าครั้งที่ผ่านๆมามาก
เป็นการลิ้มชิมรสชาติของความยากลำบาก
และความเสียสละตนของคณะฆราวาสฯผู้ไปเยือน
เป็นการสัมผัสกับวิถีชีวิตที่เป็นจริงตามธรรมชาติ
เก็บกินผักสวน
ครัวรั้วกินได้ อาบน้ำฝนน้ำบ่อบาดาล
ซึ่งไม่สะดวกสบายเหมือนอยู่ในเมือง อยู่ในห้องแอร์ ห้องมุ้งลวด
หรือนอนที่นุ่มๆ
นับเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และมุมมองในการเจริญชีวิต
วิธีคิด เศรษฐกิจ การศึกษา ศาสนาความเชื่อและประเพณี ของทั้งผู้เป็นเจ้าบ้านและผู้ไปเยือน
คนเมืองก็ได้เรียนรู้ถึงข้อจำกัด
ความด้อยโอกาส ความอัตคัด
ขัดเคืองของชาวบ้าน
ชาวบ้านชนบทกลุ่มชาติพันธ์ก็ได้เรียนรู้วิธีคิด
ข้อมูลข่าวสาร และกระบวนการเรียนรู้จากคนเมือง
ก่อให้เกิดความเข้าใจและความประทับใจในอัธยาศัยไมตรีของกันและกัน
ก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกันทำกิจกรรมที่ดีที่ก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ตนเองและครอบครัว
ส่วนรวม
เกิดความตระหนักรู้ ถึงคุณค่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
คุณธรรมความดีงามต่างๆที่ทำร่วมกันได้ โดยมีความเชื่อ และหลักธรรมคำสอนเป็นแกนหลัก
เป็นแบบจำลองของ “สังคมดี”หรือสังคมเข้มแข็ง ในทรรศนะและมุมมองของท่าน ศ.นพ.ประเวศ วะสี ที่เริ่มต้นจากการรวมตัวกัน ร่วมคิดร่วมทำในเรื่องต่างๆ เพื่อส่วนรวม และนำไปสู่ความอบอุ่น ความสุข คือคิดถึงและรับผิดชอบต่อส่วนรวม
เป็นการรวมทุนหรือทรัพยากรเพื่อการพัฒนาเข้าด้วยกัน
ทั้งทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางปัญญา ทุนภาครัฐ-ภาคธุรกิจ
และทุนทางศาสนธรรมไม่ว่าจะเป็นพุทธ คริสต์ อิสลาม หรืออื่นๆ
เป็นการรวมพลังทางสังคมเพื่อแก้ปัญหาความยากจน
ขจัดความอยุติธรรม และความเหลื่อมล้ำให้หมดไปอย่างได้ผลยั่งยืน มีประสิทธิภาพ
วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556
ผู้ว่า...ปิด..เปิด..เกิด หรือ ตาย
ความดีไม่มีวันตาย
แต่ประชาธิปไตยตายแล้ว
ปรากฎการณ์ละครเหนือเมฆ2ตอนมือปราบจอมขมังเวทย์ที่ถูกผู้มีอำนาจของช่อง3แบนโดยวิธีปลดกลางอากาศ ไม่มีตอนจบ และ ถูกสั่ง“ปิดตาย”ห้ามเผยแพร่ทุกสื่อนั้นน่าสนใจยิ่งสำหรับประชาชนคนไทยผู้นิยมประชาธิปไตยและยึดถือในสิทธิเสรีภาพเป็นหลักการสำคัญ
หนึ่ง คือ น่าสนใจถึงเหตุผล
กระบวนการ และระบบการตรวจสอบภายใต้ระบอบประชาธิปไตยที่มีประสิทธิภาพและจิตวิญญาณของสื่อเสรี
เพราะหากสังคมประชาธิปไตยยึดถือหลักที่ว่า
“เสรีภาพสื่อ คือ เสรีภาพประชาชน”
การปิดตายละครเหนือเมฆ2ของช่อง3โดยฉับพลันทันที
ไม่มีเหตุผลและข้อเท็จจริงที่เพียงพอมาสนับสนุนว่าละครไปละเมิดสิทธิเสรีภาพของใคร
อย่างไร
ก็เข้าทำนอง
ปฎิบัติการ“ปิดหู ปิดตา ปิดทวารการรับรู้และเรียนรู้จิตวิญญาณแห่งความเป็นประชาธิปไตย”
เหตุเพราะโดยเนื้อหาสาระหลักของละครเหนือเมฆ
2มุ่งสู่ “จินตปัญญา”ที่สั่งสมคุณธรรมและวิธีคิดเพื่อความดีของส่วนรวม(Common Good)
ภายใต้คาถาที่ว่า
“ความดีไม่มีวันตาย”ของ
“ผบ.นภาและพวก”ที่จงใจส่งผ่านบทละครสู่การเรียนรู้ของสังคม
บ่งบอกถึงความเชื่อของการ “ใช้ความดีเอาชนะความชั่ว”
และยืนหยัดยึดมั่นในความดีงามนั้นไว้อย่างมั่นคง
ไม่หวั่นไหว ภายใต้การคุกคามของความโลภ โกรธ หลง ตลอดจวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต
ถึงแม้จะต้องตายก็ให้ตายใน
“คุณความดี” เพื่อ “คุณความดี” โดยกระทำแต่ “คุณความดี” เพื่อผู้อื่น เพื่อสังคม
อันเป็นปัจฉิมโอวาทสำคัญแห่งพุทธศาสดาที่ทรงตรัสสอนให้หมู่ภิกษุทั้งหลาย
“ยังประโยชน์ตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม”
อันเป็นพระวจนาถต์ “ทำดีเพื่อผู้อื่น”ที่ดำรงอยู่ก่อนแล้วในโลก
และปรากฏเป็นจริงผ่านชีวิตมนุษย์ขององค์พระเยซูคริสตเจ้า
เป็นพระราชบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงตรัสสอนประชาชนของพระองค์ให้ใช้
“ธรรมะปราบอธรรม”
สะท้อนถึงอุดมการณ์-รากเหง้าและหลักของความเป็นประชาธิปไตยที่ต้องตั้งอยู่บนฐานของความถูกต้อง
ความดี ความงามของจิตวิญญาณแบบ “ธรรมาธิปไตย”
สอง
คือ สะท้อนแง่มุมของระบบ วิธีคิดและการตรวจสอบแบบประชาธิปไตยที่นักการเมืองนิยมกล่าวว่า
“มีอะไรไปพูดกันในสภา”... “ให้สภาเป็นผู้ตัดสิน...เป็นผู้กำหนด”
เหตุเพราะการเมืองแบบประชาธิปไตยยึดถือหลักเหตุผล
การรับฟังและการเคารพความคิดเห็นซึ่งกันและกัน อันเป็นหลักการแห่ง “สิทธิและเสรีภาพ”ในระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน
ซึ่งหมายถึงการยอมรับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของ
“สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในฐานะผู้แทนของปวงชนชาวไทย”ที่ยึดมั่นและยึดโยงใน “ผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ
มากกว่าผลประโยชน์ส่วนตน”
อันเป็นสาระการเรียนรู้หลักที่ละครเหนือเมฆ2มุ่งให้การเรียนรู้แก่ประชาชนคนดู เพื่อหวังให้ “มโนสำนึกฝ่ายดีมีชัยเหนือการทุจริตคอรัปชั่น”
การทุจริตคอรัปชั่นโดยใช้อำนาจทางการเมืองอันเป็นอำนาจแท้ของปวงชนที่มอบให้นักการเมืองผ่านกระบวนการเลือกตั้ง
เพื่อสนองกิจการและความร่ำรวยส่วนตน
แต่กลับสร้างความหายนะให้แก่ชาติบ้านเมืองและบรรทัดฐานกติกาในการปกครองประเทศ
จึงเป็นความเลวร้ายที่บ่อนทำลายชาติและทำร้ายความเป็นประชาธิปไตยอย่างเด่นชัดผ่านบทบาทของ
“รองจักร”ผู้รักษาการในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และ “พญามาร”ผู้ชำนาญในไสยเวทย์
ที่ผู้สร้างและเขียนบทละครบรรจงใส่ไว้ในจิตสำนึกของประชาชนคนดู
เพื่อฟื้นฟูจิตวิญญาณแห่ง
“ธรรมะ”อันเป็นรากฐานสำคัญของประชาธิปไตยแบบ“ธรรมาธิปไตย”
ซึ่ง
ณ บัดนี้ช่อง 3 ได้ใช้อำนาจสั่ง “ปิดตาย”กลายเป็นตำนาน
“เผด็จการแห่งจอแก้ว” ไปแล้ว โดยไม่ใยดีต่อเสียงเรียกร้องของประชาชนคนดู ภายใต้รัฐบาลที่มุ่งมั่นความเป็นประชาธิปไตย
ไม่เอารัฐธรรมนูญที่มาจากเผด็จการ
วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555
ความเชื่อที่ไม่ได้ปฏิบัติ ก็เป็นความเชื่อที่ตายแล้ว
ละคอนสะท้อนการเมือง
พูดถึงละครทีวี
คนไทยส่วนใหญ่ชอบดู
พูดถึงละครเวที
หลายท่านคงพอมีประสบการณ์ได้ดูชมมาบ้าง และถ้าพูดถึง “ละคอนวารสารฯ” ที่สรรสร้างและทำการแสดงโดยนักศึกษาคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้ว
ย่อมไม่ธรรมดาทั้งเนื้อหาสาระ
อรรถรสบทบาทและข้อคิดมุมมองสะท้อนการเมือง ที่ชวนชม
ชวนคิดชวนให้ติดตามทั้งก่อน-ระหว่างและหลังการแสดง อย่างสำนวนว่า
“ดูหนังดูละครแล้วย้อนดูตัว”
“ละคอนวารสารฯ”เป็นละครเวทีที่มีมานานมาก
จัดให้ดูกันเป็นประจำทุกปี ปีละครั้ง ราวๆเดือนกันยายนของทุกปี จนกลายเป็นประเพณี
หรือวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของชาววารสารฯไปแล้ว (อาจารย์เขายืนยันว่านานมากๆ...นานตั้งแต่ราชบัณฑิตยสถานยังไม่ออกมาฟันธงคำศัพท์
“ละคอน”ว่าให้สะกดว่า“ละคอน”หรือ “ละคร”นั่นแล)
ส่วนใหญ่จะจัดในวันศุกร์
เสาร์และอาทิตย์ รอบหนึ่งทุ่ม และเพิ่มรอบบ่ายสองโมงในวันเสาร์และวันอาทิตย์ รวมแล้วก็ตกประมาณ 10รอบ ที่หอประชุมศรีบูรพา(หอประชุมเล็ก)
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ผมเองก็ไปดู “ละคอนวารสารฯ” ทุกปี
ดูแล้วก็ชื่นชมในวิธีคิดวิธีการทำงานของน้องๆนักศึกษา ทำได้ดีทุกปี
ปีนี้จัดเป็นแนวพีเรียด ดราม่า เรื่อง “สุขศาลา” ทำการแสดงไปเมื่อ 14-16 ก.ย.และ
21-23 ก.ย.2555
แต่ปีนี้ดูเหมือน “ละคอนวารสารฯ”
จะลืมบทสะท้อนการเมือง แบบแสบๆคันๆพอให้ได้เก็บมาคิดต่อหรือไม่ก็พอจะเดาออกว่า
เด็กวารสารฯคนหนุ่มสาวในรั้วมหาวิทยาลัย
มีมุมมองต่อการเมืองและสังคมไทยปัจจุบันอย่างไร
ที่ผมต้องทักท้วงในประเด็นนี้
หากมองเพียงผิวเผินก็ไม่น่าจะใช่สาระสำคัญอะไรของละคร แต่สำหรับ“ละคอนวารสารฯ”
ผมคิดว่าบทมุมมองสะท้อนการเมืองนั้น
เป็นทั้งอัตลักษณ์และสัญลักษณ์ที่ชาววารสารศาสตร์และสื่อมวลชนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ต้องสื่อสารกับสังคมผ่านทางการแสดง ผู้ชมผู้ดู
ซึ่งรุ่นพี่ๆในอดีตได้สื่อสารสิ่งนี้มาโดยตลอด
และอาจเป็นคำตอบที่หลายคนพยายามจะค้นหาว่า เพราะเหตุใดนักศึกษาคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงต้องลุกขึ้นมาทำละครเวที จนกลายเป็นประเพณี
ทั้งที่คณะนี้ไม่ได้เรียนวิชา “ละคอนเวที”เลย
คำตอบที่น่าจะเป็นก็คือ “การเมืองในละคร ละครเพื่อการเมือง”
เพราะหากพินิจพิเคราะห์กันแล้ว
ในอดีตเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองการปกครอง แต่ละย่างก้าวประชาธิปไตยของไทยล้วนแล้วแต่มีต้นกำเนิดมาจาก
“มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง”แห่งนี้
ไม่ว่าจะเป็น
14 ตุลา16 หรือ 6ตุลา 19 จนกระทั่jง “ปรากฎการณ์สนธิ”ที่เริ่มก่อรูปจากรายการเมืองไทยรายสัปดาห์
นัดพิเศษที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ จนกลายเป็น
“พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย”และส่งผลสั่นสะเทือนอย่างยิ่งต่อการเมืองไทยในปัจจุบัน
เหตุผลอีกประการหนึ่งที่ผมเห็นก็คือ
ความชาญฉลาดของคณาจารย์ และนักศึกษาวารสารฯในอดีตที่เลือกใช้ละคอนเวทีเป็นสื่อเจาะเกราะและทิ่มแทงเผด็จการทางการเมือง
ผ่านบทบาทการแสดง บทพูดและเสียงเพลงของตัวละครที่สร้างอารมณ์ร่วมได้อย่างมีมนต์ขลัง
และไม่สามารถจะเอาผิดทางกฎหมายได้อย่างง่ายดายเสียด้วย
ส่วนมุมมองทางสังคมจากละคอนเวทีเรื่อง
“สุขศาลา”ที่จัดขึ้นในปีนี้ ผมเห็นว่าทำได้ดีทีเดียว
สิ่งที่ผมเห็นและคิดก็คือ
สังคมไทยปัจจุบันเต็มไปด้วยเงื่อนปมของปัญหาที่ซับซ้อน แฝงไว้ด้วยลับลมคมใน
ยากที่จะไว้ใจทางและวางใจคน
ในระดับการเมืองมีทั้งข่าวลวง ข่าวปล่อย
ความจริงครึ่งเดียว โกหกสีขาว บงการหลังม่าน ทำดีเอาหน้า ฯลฯสารพัดรูปแบบ
ในระดับชาวบ้านร้านถิ่นก็โกหกตอแหล
หลอกลวง ช่วงชิงแข่งขันกันเอาแต่ประโยชน์ส่วนตัวกันแบบหน้าซื่อตาใส หรือ หน้าด้าน
นั่นแหละครับ
ต่างคนต่างพยายามเอ่ยอ้างเหตุและผลที่สร้างคุณค่าและผลประโยชน์ให้แก่ตนเอง
มากกว่าจะคำนึงถึงคุณค่าและคุณประโยชน์ ที่เป็นผลประโยชน์และความดีของส่วนรวมอย่างแท้จริง
ใช้หลักเหตุผล(เข้าข้างตนเอง)มากกว่าหลักคุณธรรม
จริยธรรม จนสังคมและจิตใจขาดสมดุล
เหมือนกับเรื่อง
“สุขศาลา”ที่หมอใช้คนไข้ที่ตนเองมองว่าเป็นคนไร้ค่า แก่ชรา อ่อนแอ เป็นอันธพาล
เป็นคนที่สมควรตายและเพื่อให้ตายอย่างมีคุณค่า(ตามความคิดของตนเอง) จึงใช้คนไข้เหล่านี้เป็น
หนูทดลองวัคซีนโรคไข้ป่า(มาลาเรีย)
โดยที่ไม่ได้คำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนและจรรยาบรรณของแพทย์
โดยที่คนไข้ไม่ได้สมัครใจและไม่เคยได้รับรู้อะไรเลย
ที่เลวร้ายยิ่งกว่านั้น
ก็คือการที่หัวหน้าพยาบาลคนหนึ่งที่เป็นผู้เลือกตัวทดลองวัคซีน เอาเรื่องชิงรักหักสวาทส่วนตัว
มาใช้เป็นเครื่องมือประหัตถ์ประหารคนไข้ที่เป็นภรรยาของผู้อำนวยการสุขศาลา
นายแพทย์ผู้เป็นชู้รัก
ผลสุดท้ายเมื่อการทดลองล้มเหลว
คนก็ต้องล้มตาย
ความเสียหายก็เกิดขึ้นกับชีวิตกับส่วนรวมกับสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทุกอย่างจบลงด้วยความโศกเศร้า
รันทดใจ มีแต่เสียกับเสีย
มาถึงตรงนี้แล้ว
หากมองความเป็นไปในสังคมและการเมืองไทยปัจจุบัน ผมอยากเห็นรัฐบาลและนักการเมืองคิดใหม่ทำใหม่ในอีกมุมหนึ่งจริงๆ
จังๆ
ทำเพื่อประโยชน์โดยรวมของชาติและประชาชนจริงๆ
ไม่โกง ไม่โกหกหลอกลวง เลิกเล่นชักเย่อทำร้ายทำลายชาติบ้านเมืองกันเสียที ได้ไหม?
วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555
ไม่มีความรักใดยิ่งใหญ่ เท่ากับการเสียสละเพื่อมิตรสหาย
สิทธิผู้เสียหาย
กรณีศึกษานางดวงจิตต์ “ครูผู้ถูกเผาทั้งเป็น”
ผมและคณะได้มีโอกาสไปเยือนสำนักงานอัยการสูงสุดและแลกเปลี่ยนทัศนะกับ
คุณอัจฉราวรรณ บุนนาค ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการและโครงการในพระดำริ
พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิตติยาภาแล้วรู้สึก ประทับใจ
คุณอัจฉราวรรณ บุนนาค ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการและโครงการในพระดำริ
พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิตติยาภาแล้วรู้สึก ประทับใจ
และเข้าใจว่ายังมีเรื่องที่ประชาชนอย่างเราๆควรจะได้รับรู้เรื่องกฎหมายและสิทธิ
ประโยชน์ของตนเองอีกมาก
โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับผู้หญิง เด็กและผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำผิดทางอาญาของผู้อื่น
ดูเป็นประเด็นที่ท่านผู้อำนวยการ อัจฉราวรรณ เน้นให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
ประการแรกคือ
พระเมตตาและความห่วงใยที่พระองค์เจ้าพัชรกิตติยาภา ทรงมีต่อผู้ด้อยโอกาส ผู้ตกทุกข์ได้ยากในสังคม ทั้งห่วงใยปัญหาผู้หญิงถูกรังแก
ถูกใช้ความรุนแรงไม่ว่าจะทางกาย วาจา ใจ
อย่างกรณีของนางดวงจิตต์
บุญพระ ครูโรงเรียนบอสโกพิทักษ์ อ.เมือง จ.นครปฐม ที่ถูกสามีทำร้าย โดยใช้น้ำมันราดแล้วจุดไฟเผาต้องทนทุกข์แสนสาหัสอยู่ทุกวันนี้
ก็ทรงมีพระเมตตาให้ผู้แทนพระองค์อัญเชิญแจกันดอกไม้ ประทานให้เป็นขวัญกำลังใจ
ยังความปลาบปลื้มเป็นล้นพ้นแก่ครูดวงจิตต์ ผู้ป่วย
ลูกๆของเธอและญาติพี่น้องทุกคน
ประการต่อมา คือ เรื่องสิทฺธิประโยชน์และสวัสดิการที่ผู้เสียหายที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำผิดอาญาของผู้อื่นโดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องขอรับค่าตอบแทนจากรัฐ ตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย
และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544
ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานการขอรับเงินค่าตอบแทน
และค่าทดแทน และค่าใช้จ่าย
สำนักงานช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
กระทรวงยุติธรรม
แม้ว่าเรื่องนี้จะไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานกิจการและโครงการในพระดำริฯโดยตรง
แต่ก็เป็นกฎหมายและสิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับประชาชนและผู้เสียหายทุกคน
ควรจะได้รับรู้รับทราบ และได้รับสิทธิ์ของตนเองตามกฎหมาย
ข้อนี้ถือเป็นการช่วยเหลือ
ประชาชนผู้เสียหาย โดยเฉพาะผู้หญิง
และผู้ด้อยโอกาสที่เป็นขอบข่ายหน้าที่ภารกิจของสำนักงานกิจการและโครงการในพระดำริฯ
ที่ท่านผู้อำนวยการ คุณอัจฉราวรรณ
บุนนาค เอาใจใส่ดูแลแนะนำ
และประสานงานให้กับคณะญาติของครูดวงจิตต์อย่างครบถ้วน
รวมถึงข้อกฎหมายอื่นๆเกี่ยวกับทางคดีและการช่วยเหลือนางดวงจิตต์
บุญพระ ที่ญาติและเพื่อนครูรวมถึงผู้บริหารโรงเรียนบอสโกพิทักษ์ได้รับคำแนะนำเป็นอย่างดีจากนายชนภัทร
วินยาวัฒน์ และนายพายัพ สุพรรณโท จากสำนักงานอัยการจังหวัดนครปฐม ที่ประสานเข้ามาช่วยดูแลอีกแรง
กรณีผู้เสียหายที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำผิดอาญาของผู้อื่นโดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องจะขอรับค่าตอบแทนจากรัฐ
ได้ในกรณีดังนี้
lได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย
จิตใจ หรือถึงแก่ความตายเนื่องจากถูกทำร้าย ถูกฆ่าตาย ถูกลูกหลง ถูกทำให้แท้งลูก
ถูกข่มขืน ถูกกระทำอนาจาร
l ได้รับบาดเจ็บสาหัส หรือตาย
จากการกระทำโดยประมาทของผู้อื่น
l เด็ก คนชรา คนป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้และถูกทอดทิ้ง
สิทธิการได้รับเงินช่วยเหลือของผู้เสียหาย
แบ่งเป็น 2 กรณี คือ
กรณีทั่วไป
l
ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการรักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจ่ายจริง ไม่เกิน
30,000 บาท
l ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจเท่าที่จ่ายจริง
ไม่เกิน 20,000 บาท
l ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้
ในระหว่างที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติ อัตราวันละไม่เกิน 200 บาท ระยะเวลาไม่เกิน
1 ปี
l ค่าตอบแทนความเสียหายอื่น
ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร ไม่เกิน 30,000
บาท
กรณีเสียชีวิต
lค่าตอบแทน
กรณีผู้เสียหายถึงแก่ความตาย ตั้งแต่ 30,000บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
l ค่าจัดการศพ จำนวน
20,000 บาท
lค่าขาดอุปการะเลี้ยงดู
ไม่เกิน 30,000 บาท
lค่าเสียหายอื่น
ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร แต่ไม่เกิน 30,000บาท
สำหรับขั้นตอนการยื่นเรื่องขอรับเงินช่วยเหลือให้ปฏิบัติดังนี้
1.แจ้งความเพื่อดำเนินคดีต่อเจ้าพนักงานตำรวจ ณ
ท้องที่ที่เกิดเหตุ
2.พบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อตรวจรักษา
กรณีตายให้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อออกใบมรณะบัตร
3.รวบรวมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
4.ยื่นคำขอรับเงินค่าตอบแทนภายใน 1 ปี
นับแต่วันที่ได้รู้ถึงการกระทำผิด
เรื่องข้อกฎหมายอย่างนี้ไม่ค่อยได้พบเห็นการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปได้ทราบและเข้าใจถึงสิทธิของตนเองมากนัก
ทำให้ผู้เสียหายไม่ได้รับการช่วยเหลือเยียวยาตามกฎหมาย
แต่สำหรับกรณีนางดวงจิตต์
บุญพระ และลูกๆของเธอ นับว่าเป็นบุญที่ได้รับพระเมตตา และความเมตตาช่วยเหลือจากทุกฝ่ายในสังคม
โดยเฉพาะสื่อมวลชนและผู้มีจิตอันเป็นกุศลที่ได้ให้การช่วยเหลือเธอในรูปแบบต่างๆ
สุดท้ายท่านผู้อำนวยการ
อัจฉราวรรณ บุนนาค ฝากมาถึงพ่อแม่ผู้ปกครองก็คือ
การอบรมดูแลลูกหลานให้มีภูมิคุ้มกัน มีทักษะชีวิต ทักษะทางสังคม และทักษะอาชีพที่เด็ก
และเยาวชนสามารถเรียนรู้ได้จากครอบครัว นอกจากการเรียนรู้จากโรงเรียนและสังคม
ท่านบอกว่าอยากให้มีการจุดประกายให้เด็ก
เยาวชนมีความหวังและมีเป้าหมายที่ชัดเจนในชีวิต เพื่อเป็นพลังให้เขามีความใฝ่ฝัน
รู้จักบริหารเวลา รู้จักวางแผนและเพียรพยายามทำให้สำเร็จ
สังคมไทยจะได้มีคนดี
มีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้น
เป็นกำลังสำคัญให้กับประเทศชาติในอนาคต
ที่สำคัญต้อง
“เป็นผู้มีสติ ยั้งคิด ยั้งทำ
และยุติการกระทำความรุนแรงต่อผู้หญิงหรือการกระทำความรุนแรงอื่นๆในทุกรูปแบบ”ครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)